Search

อันตราย! โรคระบาดสัตว์ "พาหมา-แมว" เที่ยวอุทยาน - ข่าวไทยพีบีเอส

lamundress.blogspot.com

พบนักท่องเที่ยวนำหมา-แมว เที่ยวอุทยานแห่งชาติ ช่วง 1 เดือนต้องรับฝากสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 10 ตัวเฉพาะที่เขาใหญ่ และอีก 30 คันที่ขอ กลับ "สัตวแพทย์" สะท้อนความเสี่ยงแอบบนำสัตว์เลี้ยงเที่ยวอุทยาน เคยเจอ"กวางแท้งลูก" จากโรคในขี้แมว ลามถึงเจ้าหน้าที่มีลูกยาก

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายสัตวแพทย์เกษตร สุเตชะ สัตวแพทย์ประจำคลินิกสัตว์ เลี้ยงพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า ปัญหานักท่องเที่ยวการแอบนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปบนอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะสุนัขและแมว ซึ่งมักเจอบ่อยครั้ง ถือเป็นเรื่องอันตรายมากต่อการนำโรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงไปสู่สัตว์ป่าในกลุ่มสายพันธุ์ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะที่เป็นข่าวเมื่อช่วงเดือนก.ค.ที่ผ่านมาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานที่มีสัตว์ป่า เช่น หมาจิ้งจอก หมาใน กลุ่มแมวดาว เสือโคร่ง เสือลายเมฆ ซึ่งสุ่มเสี่ยงมาก เพราะในตัวสุนัข และแมวจะมีโรคพยาธิในทางเดินอาหาร และปรสิตนอก เช่น เห็บ หมัด และพยาธิในเม็ดเลือดที่นำโดยตัวเห็บ

ถ้าแอบลักลอบนำสุนัข แมวเข้าไปบนอุทยานยากที่จะหลีกเลี่ยงนำสัตว์เลี้ยงลงไปขับถ่ายในพื้นที่ธรรมชาติ ทั้งริมต้นไม้ ข้างเต็นท์ ข้างรถ มูลของสัตว์มีโอกาสที่มีตัวอ่อนของหนอนพยาธิ โปรโตซัวลงในดิน ในพื้นที่หญ้า ซึ่งถึงเจ้าของจะบอกว่าเก็บมูลหมดก็ไม่หมดแน่นอน

หมาบ้านแพร่เชื้อหมาป่าในอุทยานฯตาย

นายสัตวแพทย์เกษตร ยกตัวอย่างกรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นจากการแพร่เชื้อของสัตว์บ้าน ที่เคยเกิดขึ้นจากปัญหาโรคไวรัสจากหมาบ้าน สู่หมาป่าที่ทวีปแอฟริกา กรณีที่หมาป่าในธรรมชาติตายลงเกือบครึ่งของประชากร ซึ่งเมื่อสอบสวนโรคจึงรู้ว่าการระบาดของโรคมาจากเชื้อจากหมาบ้าน เนื่องจากหมาป่าไปกินมูลของหมาบ้านที่ถ่ายไว้ และพาเชื้อโรคไปติดในฝูงหมาป่า เนื่องจากหมาเป็นสัตว์สังคมเมื่อตัวหนึ่งป่วยก็จะมีการดูแลกัน ทำให้เกือบสูญพันธุ์

ส่วนพวกเห็บ หมัด ที่อยู่บนตัวหมาและแมว แค่เห็บหมัดกระโดด จากตัวสัตว์บ้านเข้าไปเป็นพยาธิในเลือด และยังไม่รวมเป็นขี้เรื้อนในสัตว์ป่า ซึ่งกรณีนี้ในปี 2559 ก็เคยมีคนถ่ายภาพหมาในที่เขาใหญ่ เป็นขี้เรือน ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่ระบาดรุนแรง เพราะว่าพันธุกรรมของหมาในรู้ว่าหมาเขาใหญ่เป็นขี้เรื้อน ซึ่งทีมสัตวแพทย์ก็พยายามตามรักษา ซึ่งโชคดีที่ไม่ระบาดยกฝูง เนื่องจากพันธุกรรมของหมาป่าแข็งแรงกว่าหมาบ้านแต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควร เพราะจะเกิดความเสียหายทางธรรมชาติตามมา

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

หายนะไทย กระทิงกุยบุรีติดโรคคอบวมตายกว่า 30 ตัว

นายสัตวแพทย์เกษตร กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย เคยมีกรณีที่ชัดเจนคือเรื่องกระทิงกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ติดโรคคอบวมตายกว่า 30 ตัวจากฝูงกระทิงราว 150 ตัว ซึ่งราวปี 2558 ถือเป็นหายนะทางธรรมชาติอย่างมาก โดยสาเหตุมาจากการำนำฝูงแพะมาเลี้ยงแถวป่ากันชนพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

เคสกระทิงตาย เป็นเรื่องที่สะเทือนนักอนุรักษ์ เพราะกว่าจะหาสาเหตุ สอบสวนโรคว่าเกิดจากปศุสัตว์คือการนำแพะไปเลี้ยงในป่ากันชนที่มีกระทิงออกมาหากิน กว่าจะหยุดโรคระบาดได้ต้องใช้เวลา

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกลุ่มนักอนุรักษ์ถึงออกมาเคลื่อนไหวไม่ให้นำฝูงวัว ควายไปเลี้ยงในแหล่งที่มีสัตว์ป่าออกมาหากิน เช่น ห้วยขาแข้ง ก็มีกระทิง และวัวแดง ถ้าขอบป่าจะเสี่ยงต่อโรคปากเท้าเปื่อย

เทียบ “เขาใหญ่ถังขยะ” คนแอบนำสัตว์มาปล่อย

นายสัตวแพทย์เกษตร ระบุอีกว่า สำหรับกรณีเขาใหญ่ไม่เพียงแต่มีแค่ลักลอบนำหมา แมว รวมทั้งงูหลามไปเที่ยวกับนักท่องเที่ยว แต่มีปัญหาการลักลอบนำสัตว์บ้านไปปล่อยด้วย ที่ผ่านมานักถ่ายภาพสัตว์ป่า เคยเจอนกกระตั้ว จากประเทศออสเตรเลีย นกคูแคนจาก อเมริกาใต้ งูเหลือม งูหลามที่เขาถ่ายภาพกันได้แล้วมาโพสต์ถามกับสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติว่าเป็นนกชนิดไหน สุดท้ายถึงตรวจสอบว่าเป็นนกกระตั้ว ที่ไม่ได้มีในป่าไทย แต่ถูกนำไปปล่อยทิ้งไว้บนเขาใหญ่

นายสัตวแพทย์เกษตร กล่าวว่า ตอนนี้เขาใหญ่ ถูกเปรียบเหมือนถังขยะ เพราะเป็นจุดปล่อยสัตว์ป่าที่เขาเลี้ยงไม่ไหวกันหลายชนิดมาก ส่วนหนึ่งอาจเพราะอยู่ใกล้ กทม.เลยแอบไปปล่อยกัน เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ไม่สอดส่อง เจ้าหน้าที่ทั้งมีป้ายเตือนเรื่องห้ามนำสัตว์เลี้ยงข้าอุทยาน ถ้าเจอก็ต้องฝากใส่กรงไว้ที่ด่าน แต่ถ้าต้องเปิดค้นทุกซอกทุกมุมในรถนักท่องเที่ยว รถคงติดยาว และเกิดปัญหาตามมาด้วย เรื่องนี้ขึ้นกับจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวมากกว่า

เคยมีเจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่ามีนายตำรวจ ทหาร ในจังหวัดขอนำสุนัขผ่านจากฝั่งปากช่อง ไปฝั่งปราจีน เพราะวิ่งข้ามจังหวัด แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ยอม เพราะต้องเคร่งครัดกับการอนุญาต เรื่องนี้รู้สึกเห็นใจเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

เจอกวางแท้งลูกโรคในขี้แมว-สู่เจ้าหน้าที่มีบุตรยาก

ด้านนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุพืช กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ในไทยเคยมีการศึกษายืนยันโรคเป็นปัจจัยที่ที่บ่งชี้ว่าโรคจากสัตว์เลี้ยงในบ้านสู่สัตว์ป่าในอุทยาน โดยมาจากการสุ่มตรวจสุขภาพสัตว์เลี่ยงที่ใกล้ชิดกับคน เช่น พบว่ากวางมีตัวผอม แท้งลูก เมื่อตรวจสุขภาพกวางฝูงนี้เจอเชื้อToxoplasma ที่ทำให้เกิดโรคท็อกโซพลาสโมซิส โดยโรคนี้เชื้อมาจากขี้แมว ที่เป็นพาหะทำให้กวางและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีผลต่อร่างกาย

เชื้อชนิดนี้จากสัตว์สู่คนได้ ซึ่งข้อบ่งชี้จากกวางที่มีโรคท็อกโซพลาสโมซิส ทำให้พบมีเจ้าหน้าที่หญิงในอุทยานฯบางคนมีปัญหาการตั้งท้อง และมีภาวะมีบุตรยาก ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงและไม่ขอระบุชื่ออุทยาน และพอมีการศึกษาเจอก็สำรวจแมวที่เล็ดลอดเข้าไปในอุทยานและจับออก

นายสัตวแพทย์ภัทรพล กล่าวอีกว่า นอกจากโรคนี้แล้ว สิ่งที่น่ากังวลคือโรคพิษสุนัขบ้า ที่สัตว์เลี้ยงนำไปติดต่อในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะกลุ่มแมวจะนำไปสู่กลุ่มเสือในป่า ถ้ามีการติดแล้วจะเกิดสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ และไม่คุ้มค่าที่เขาจะลักลอบนำสตัว์ไปทั้งต่อตัวเอง ต่อสิ่งแวดล้อมไม่คุ้มค่า เพราะสัตว์เลี้ยงเองก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคจากสัตว์ป่าที่มีโรคเฉพาะเช่นกัน

ก่อนหน้านี้มีการนำสุนัขนายพรานไปล่าสัตว์และทำให้เชื้อพิษสุนัขบ้าติดต่อของเสือ สิงโตในป่าแอฟริกา จนเขาต้องคิดค้นทำงัคซีนเม็ดไปโปรยในป่าให้สัตว์ได้กิน

สายลับ จับ-ดมกลิ่น ลักลอบหมา-แมวเข้าอุทยาน

ขณะนี้กรมอุทยานฯ ต้องมีการตั้งกรงรับฝากหน้าด่าน เพราะที่ผ่านมาเจอปัญหานักท่องเที่ยวที่นำสัตว์เลี้ยงมาเที่ยวอุทยานด้วย ซี่งส่วนใหญ่บอกว่าจากการรุ้เท่าไม่ถึงการณ์ และบางคนรู้แต่ยังฝ่าฝืน และสำนักอุทยานแห่งชาติมีมาตรการในการเที่ยวอุทยาน ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้ามา และในแนวปฏิบัติ เหตุผลที่นำเข้าคือการแอบนำสัตว์เข้ามา ในการตรวจยานพาหนะ เช่น เปิดกระจกทุกบาน เจ้าหน้าที่ใช้การดมกลิ่นของสุนัข เพราะแชมพู สังเกตขนสัตว์ตามเบาะรถ เช่นเบาะดำแต่ขนสีขาว หรือถามตรงว่ามีการนำสัตว์ เลี้ยงสุนัขเข้ามาหรือไม่

ตรงนี้เป็นการส่งเสียงเรียก เพราะสัตว์เลี้ยงอาจจะส่งเสี่ยงเห่า ตอบเพราะไม่ชินกับเสียงคนอื่น รวมทั้งส่งเสียงหลอกล่อ ซึ่งสัตว์บางตัวอาจจะขยับ ถ้าหลบเลี่ยงหลบซ่อนเจ้าหน้าที่จะมีเทคนิคเพิ่มเติม

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

เขาใหญ่ พบนักท่องเที่ยวยังนำหมา-แมวเที่ยว 

ด้านนายคมกริช เศรษบุบผา ผอ.ส่วนจัดการท่องเที่ยวและนันทนาการ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ในช่วง 1 เดือนที่มีผ่านมามีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวอุทยานฯกว่า 945,000 คน โดยเขาใหญ่ ยังครองแชมป์คนมากสุด 180,000 คน แต่ในจำนวนนี้ก็พบมีปัญหาการนำหมา แมวไปเที่ยวด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมีการทำกรงไว้ที่หน้าด่าน เพื่อไม่ให้นำสัตว์เลี้ยงไปในเขตอุทยานฯ 

เฉพาะเดือน​ก.ค.ที่ผ่านมา บริเวณด่านตรวจศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่​มีประมาณ 10 รายที่ฝากหมาไว้ และขึ้นปเที่ยวแบบไปไกล และอีก 35 คันบริเวณด่านเนินหอม​ จ.ปราจีนบุรี ที่เจ้าของยอมกลับเองมีสัตว์เลี้ยงไม่ยอมรับการห้ามไม่ให้ขึ้นอุทยาน

ทั้งนี้นายคมกริช ยืนยันว่าขณะนี้มีการกำหนดมาตรการกรณีที่นักท่องเที่ยวฝ่าฝืนนำสัตว์เลี้ยงเข้าอุทยานฯไว้มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งแม้โทษจะไม่สูง แต่อยากจะขอความร่วมมือมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย เพราะผลกระทบวงกว้างมากหากมีปัญหาการระบาดของโรคสัตวฺ์เลี้ยงสู่สัตว์ป่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เขาใหญ่" แจ้งความนักท่องเที่ยวพาหมาเที่ยวอุทยาน




August 07, 2020 at 10:32AM
https://ift.tt/3fCJ51o

อันตราย! โรคระบาดสัตว์ "พาหมา-แมว" เที่ยวอุทยาน - ข่าวไทยพีบีเอส

https://ift.tt/3hbQyqg


Bagikan Berita Ini

0 Response to "อันตราย! โรคระบาดสัตว์ "พาหมา-แมว" เที่ยวอุทยาน - ข่าวไทยพีบีเอส"

Post a Comment

Powered by Blogger.