Search

เรื่องของ “วิทยาศาสตร์การกีฬา” (1) - ไทยรัฐ

ยังคงเป็น “ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์” ที่พูดถึงกันไม่จบ กับเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในนัดชิงเหรียญทองฟุตบอลซีเกมส์ที่กัมพูชา

วันนี้ผมมีมุมมองจากพี่หมอไพศาล จันทรพิทักษ์ ประธานฝ่ายแพทย์ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

ที่เขียนบทความมาแสดงทรรศนะถึงเรื่องนี้กับผมได้อย่างน่าสนใจ...ลองอ่านกันดูครับ !!!

เหตุการณ์ระหว่างทีมฟุตบอลชาติไทย-อินโดนีเซีย เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา ??

ผมได้อ่านคอลัมน์ของคุณบี เกี่ยวกับเหตุการณ์ในสนามฟุตบอลที่กัมพูชา ในช่วงที่แข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย

ในฐานะที่ผมเป็นประธานฝ่ายแพทย์ ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เป็นห่วงเหตุการณ์ทำนองนี้มาโดยตลอด

ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำทีมชาติไทยมามากกว่า 30 ปีและอยู่ในเหตุการณ์คล้ายๆกันนี้หลายครั้ง ที่ทุกคนที่อยู่ในทีมมีความเครียดและกดดันตั้งแต่ก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้น

ผมตั้งชื่อหัวข้อเรื่องในวันนี้ที่อาจทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะงงๆ ว่า แล้วมันไปเกี่ยวข้องกับ “ วิทยาศาสตร์การกีฬา “ ได้อย่างไร ?? ซึ่งเป็นเจตนาของผมที่ต้องการจะให้ความรู้กับทุกๆท่านเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย

ทุกๆท่านคงเคยได้ยินบ่อยๆว่า เราต้องนำ “วิทยาศาสตร์การกีฬา” มาใช้กับนักกีฬา เราจึงจะประสพความสำเร็จ ดังนั้นเรามารับทราบไปพร้อมๆกันว่า สาขาหรือองค์ประกอบของวิทยาศาสตร์การกีฬามีมากกว่า 5-6 สาขาขึ้นไป ดังนี้

1.สาขาสรีรวิทยาทางการกีฬา(Sports Physiology) - ทำอย่างไรร่างกายนักกีฬาจึงฟิต (ระบบหัวใจ ปอด การไหลเวียนโลหิต) ระบบบกล้ามเนื้อฯลฯ เป็นหน้าที่ของโค้ชฟิตเนสที่จะฝึกให้นักฟุตบอลแข็งแรงบึกบึน วิ่งได้ตลอด 90-120 นาที

2.สาขาโภชนาการ(Nutrition) – กินอาหารแบบไหน? อย่างไร? จึงจะทำให้นักกีฬามีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการใช้งานหนักมากของนักกีฬา เป็นหน้าที่ของโภชนากรที่จะสอนให้ความรู้ แต่เวลปฏิบัตินักกีฬาเองเป็นคนหยิบอาหารเข้าปากเอง ดังนั้นนักกีฬาเองจึงต้องมีความรู้ที่ถูกต้องด้วยและต้องปฏิบัติจริงๆจึงจะได้ผล

3.สาขาชีวกลศาสตร์(BioMechanic) – การมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆอย่างดีถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ส่วนใหญ่ทักษะของการเล่นฟุตบอล(Football Skill) มีอยู่ในตัวเด็กนักกีฬามาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาฝึก

4.สาขาเวชศาสตร์การกีฬา (Sports Medicine) - มีวิธีป้องกันไม่ให้บาดเจ็บอย่างไร?(วิธีวอร์มอัพแบบใดที่ป้องกันการบาดเจ็บได้) เจ็บแล้วรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุดเพื่อกลับมาเล่นใหม่ได้โดยเร็ว เป็นหน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาและเวชศาสตร์ฟื้นฟู รวมทั้งนักกายภาพบำบัด ที่มีความพร้อม

5.สาขาเทคโนโลยีทางการกีฬา (Sports technology) – การนำเท็คโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อทำให้มีมาตรวัดความสมบูรณ์แข็งแรงของนักกีฬา อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำมาใช้ในการติดตามความฟิตต่างๆของร่างกายได้ อย่างเป็นรูปธรรมมีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidensed-base information) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือ High Technology มาเก็บข้อมูลเอามาประเมิน

6.จิตวิทยาทางการกีฬา(Sports Psychology) – เป็นเรื่องโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องในวันนี้เลยครับ เพราะเป็นเรื่องจิตใจล้วนๆ เป็นเรื่องทัศนคติ ที่จะต้องถูกปลูกฝังมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กๆที่เริ่มเข้าสู่การแข่งขัน

มีคู่ต่อสู้ที่อาจต้องมีการปะทะกัน มีการบาดเจ็บเกิดขึ้น จนถึงขั้นตัวเองเข้าใจว่าถูกกระทำโดยตั้งใจจากคู่ต่อสู้ จึงนำไปสู่อารมณ์โกรธและนำไปสู่การเอาคืนหรือล้างแค้นจากคู่ต่อสู้ (อ่านต่อพรุ่งนี้)

นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์

ประธานฝ่ายแพทย์ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( เรื่องของ “วิทยาศาสตร์การกีฬา” (1) - ไทยรัฐ )
https://ift.tt/YinvBNG
กีฬา

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เรื่องของ “วิทยาศาสตร์การกีฬา” (1) - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.