Search

รวบตึง 4 เช็คลิสต์ “หูฟังไร้สาย” สวมใส่สบาย แต่คุณภาพเสียงระดับ Hi-Res - Sanook

ไหนขอทายก่อนเลยว่านอกจากสมาร์ทโฟนแล้ว ปีนี้แกดเจ็ตที่หลายคนปักไว้ในลิสต์เป็นลำดับถัดมาคือ “หูฟัง” สักชิ้นที่จะเอามาใช้คู่กัน บางคนก็คงกดเพิ่มไว้ในรถเข็นรอลดราคากันบ้างแล้ว

แต่บอกเลยว่าถ้าทายถูกต้องขอบคุณ Counterpoint Research ที่คาดการณ์ไว้แล้วว่าในปี 2021 นี้ยอดการจัดส่งหูฟังไร้สาย หรือ TWS ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 33 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (ซึ่งปีที่แล้วยอดก็โตถึง 78 เปอร์เซ็นต์!)

โดยเขาบอกว่ายอดจัดส่งทั่วโลกจะอยู่ที่ราว 310 ล้านชิ้น นี่ทำให้การแข่งขันในตลาดหูฟังไร้สายเข้มข้นและร้อนแรงมากขึ้นทุกที ทุกค่ายก็จัดเต็มปล่อยโปรดักต์ใหม่ๆ ออกมาจนทำให้ทุกวันนี้เราสามารถหาซื้อหูฟังไร้สายคุณภาพดีๆ ได้ในราคาสมเหตุสมผลกันแล้ว เอาละ เชื่อว่าต้องมีหลายคนที่เล็งจะเป็นเจ้าของหูฟัง 1 ใน 310 ล้านชิ้นที่จะขายออกปีนี้ เราเลยมีเช็คลิสต์คุณสมบัติหูฟังไร้สายที่สวมใส่สบายแต่เสียงดีจัดๆ มาแนะนำให้พิจารณากันก่อน

huaweifreebuds4_2

ลองดูดีไซน์แบบ Open-Fit ให้สวมใส่สบาย น้ำหนักเบา ออกแบบตามหลักการยศาสตร์

ประการแรกที่เราต้องตัดสินใจคงหนีไม่พ้นว่าถนัดใส่หูฟังแบบอินเอียร์ที่มีจุกซิลิโคนมาให้ หรือแบบ Open-Fit ที่เน้นความสบายในการสวมใส่ ซึ่งถ้าใครที่ใช้หูฟังบ่อย บอกเลยว่าเลือกแบบ Open-Fit ไว้ก่อนจะดีกว่า เพราะสวมใส่เบาสบายหูตลอดวัน และยังได้ยินสัญญาณแจ้งเตือนสำคัญรอบตัว นอกจากนี้ การออกแบบตามหลักการยศาสตร์โดยคำนึงถึงประสบการณ์ผู้ใช้ ถือว่าสำคัญมากจริงๆ ในการออกแบบหูฟังสักชิ้น เพราะแน่นอนว่าเราแต่ละคนมีลักษณะใบหูไม่เหมือนกัน ลักษณะการสวมใส่ก็ต่างกัน แถมหูฟังแบบ Open-Fit ไม่มีจุกซิลิโคนที่จะมารับกับสรีระใบหู

ดังนั้น การออกแบบจึงต้องอาศัยทีมวิจัยและพัฒนาที่ค้นคว้าอย่างเข้มข้น ยกตัวอย่างการออกแบบ HUAWEI FreeBuds 4 ทีมวิจัยและพัฒนาต้องรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้จริงในจีนกว่า 10,000 รายที่อายุ เพศ และน้ำหนักส่วนสูงแตกต่างกัน มาวิเคราะห์เพื่อหาจุดร่วมจุดต่าง เพื่อให้ได้ดีไซน์ของหูฟังที่ universal สำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่มให้ได้มากที่สุด เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ ทำให้ได้หูฟังที่ลดแรงกดบริเวณหูชั้นนอกได้ เพราะปรับองศาให้จุดศูนย์ถ่วงเอียงเข้าด้านในหูไว้แล้ว แถมน้ำหนักเบาเพียงข้างละ 4.1 กรัม ดังนั้นจึงยังสวมใส่กระชับสบายหู แม้ต้องใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน

ลองดูความสามารถการตัดเสียงรบกวนรอบข้าง เพราะต่อให้เป็นหูฟัง Open-Fit สมัยนี้ก็ทำได้แล้ว  

ปัญหาโลกแตกของคนชอบหูฟังที่เสียงแบบ immersive เหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในโลกของดนตรีโดยปราศจากเสียงรบกวนภายนอก แต่ใส่หูฟังอินเอียร์นานๆ ก็อึดอัด จะเลือกแบบครอบหูก็พกไม่สะดวกนัก นั่นทำให้หัวเว่ยคิดค้นเทคโนโลยีที่เรียกว่า AEM หรือ “Adaptive Ear Matching” ร่วมกับเทคโนโลยี ANC 2.0 มาใช้ในหูฟังแบบ Open-Fit ที่สวมใส่สบาย โดยจะสามารถวิเคราะห์ลักษณะใบหูและลักษณะการสวมใส่หูฟังของผู้ใช้ได้ แล้วปรับจูนการตัดเสียงรบกวนให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคนโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีนี้ได้นำมาใช้กับฟังรุ่นล่าสุดของหัวเว่ยอย่าง HUAWEI FreeBuds 4 เป็นรุ่นแรก ทำให้ตัดเสียงรบกวนได้สูงสุด 25 เดซิเบล แม้จะไม่ใช่อินเอียร์ก็ตาม โดยการตัดเสียงรบกวนในระดับนี้จะทำให้ไม่ได้ยินเสียงแอร์ เสียงพัดลม หรือเสียงพูดคุยแบบห่างๆ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะจบปัญหาโลกแตกของคนที่ต้องการหูฟังตัดเสียงรบกวน แต่ไม่ชอบหูฟังแบบอินเอียร์

ลองดูขนาดไดรเวอร์และวัสดุที่เลือกใช้ในส่วนประกอบหูฟัง

ใครที่ไม่ใช่สายเทคจ๋าๆ อาจจะงงว่าไดรเวอร์คืออะไร แต่ถ้าใครที่พอจะเคยอ่านรีวิวหูฟังหลายๆ แบรนด์มาแล้วคงคุ้นเคยพอสมควร เพราะไดรเวอร์คือตัวขับเสียงสำคัญที่จะตัดสินว่าหูฟังจะให้เสียงที่หนักแน่นทรงพลังได้มากน้อยเท่าใด ไดรเวอร์ขับเสียงในระดับที่แนะนำคือควรจะมีขนาด 10 มิลลิเมตรเป็นอย่างน้อย และถ้าต้องการเสียงเบสที่หนักแน่นทรงพลังขึ้นไปอีกระดับ ก็แนะนำไดรเวอร์ขนาด 14 มิลลิเมตรขึ้นไป

ซึ่งถือว่าเป็นขนาดใหญ่สำหรับหูฟัง TWS นอกจากนี้ อีกประเด็นสำคัญซึ่งเป็นที่ขบคิดของแบรนด์ต่างๆ ก็คือวัสดุที่จะเลือกใช้ในไดอะแฟรม (Diaphragm) ซึ่งโดยธรรมชาติควรใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อมอบประสบการณ์เสียงที่เต็มคุณภาพ สำหรับรุ่นล่าสุดอย่าง HUAWEI FreeBuds 4 ทีมวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยเลือกใช้ไดอะแฟรมที่มีส่วนประกอบของพอลิเมอร์ผลึกเหลว (LCP) ซึ่งมีความยืดหยุ่นและทนทานสูง รวมถึงรองรับการตอบสนองย่านความถี่สูงสุด 40 kHz

สุดท้ายสำคัญมาก ดูให้ดีว่าเสียงต้องไม่ดีเลย์ หรือถ้าจับคู่กับทั้งสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อปได้พร้อมกัน 2 เครื่องได้ก็ยิ่งดี

อีกหนึ่งความท้าทายของหูฟังไร้สายคือใช้แล้วภาพและเสียงต้องไปด้วยกัน แม้ว่าแวดวงหูฟังไร้สายเราพัฒนามาไกลแล้ว แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อหูฟังสักชิ้น เพราะถ้าลงทุนซื้อของแพงไปแต่เอามาใส่เล่นเกมหรือดูซีรีส์ แล้วภาพกับเสียงเหลื่อมกันเกินรับได้นี่ก็เสียอรรถรสอีก หัวเว่ยคำนึงถึงจุดนี้ดีจึงมีโหมด Low Latency มาให้ ซึ่งจะทำให้ค่าความหน่วงต่ำกว่า 150 มิลลิวินาที หรือแทบไม่ดีเลย์เลยนั่นเอง ดังนั้น ก่อนเลือกหูฟังอาจต้องลองดูสเปกกันให้ละเอียดว่าค่าความหน่วงของหูฟังอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสร้างอรรถรสของเราเอง

นอกจากนี้ ถ้าหูฟังเชื่อมต่อกับสมาร์ทดีไวซ์ได้มากกว่า 1 อุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน เช่น ต่อไว้กับแล็ปท็อปและสมาร์ทโฟนในเวลาเดียวกัน จะทำให้เราไม่ต้องคอยกดสลับอุปกรณ์ให้วุ่นวาย ถ้าเกิดว่านั่งดูคอนเทนต์บันเทิงหรือประชุมอยู่ แล้วมีสายเรียกเข้า

หูฟังอย่าง HUAWEI FreeBuds 4 รวมถึงแกดเจ็ตรุ่นล่าสุดอีกหลายชิ้นของหัวเว่ยก็จะสามารถรู้ได้เองว่าจะต้องสลับมารับเสียงจากอุปกรณ์ชิ้นไหนก่อน ข้อนี้จะทำให้เข้าใจได้เลยว่าการมีเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้งานให้ไร้รอยต่อนั้นสะดวกสบายแค่ไหน

เล่ามาถึงตรงนี้หวังว่าเช็คลิสต์จะตรงใจกับหูฟังที่หลายคนเลือกไว้ แต่ถ้าหากไม่ตรงเปลี่ยนใจตอนนี้ยังทัน หรือหากใครสนใจหูฟัง HUAWEI FreeBuds 4 สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ HUAWEI Online Store

 

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( รวบตึง 4 เช็คลิสต์ “หูฟังไร้สาย” สวมใส่สบาย แต่คุณภาพเสียงระดับ Hi-Res - Sanook )
https://ift.tt/3jaXxkZ
แกดเจ็ต

Bagikan Berita Ini

0 Response to "รวบตึง 4 เช็คลิสต์ “หูฟังไร้สาย” สวมใส่สบาย แต่คุณภาพเสียงระดับ Hi-Res - Sanook"

Post a Comment

Powered by Blogger.